วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

การฝึกทักษะการโหม่งลูกบอล

การฝึกทักษะการโหม่งลูกบอล
การโหม่งลูกบอล คือ การใช้บริเวณหน้าผากเป็นส่วนที่สัมผัส ลูกบอล เพราะเป็นจุดที่สามารถรับแรงปะทะได้ดี
การโหม่งมี 3 ประเภท
- การโหม่งให้โด่ง
- การโหม่งระดับอก
- การโหม่งลงพื้น
วิธีการโหม่ง
- ตาต้องมองดูลูกบอลอยู่ตลอดเวลา ห้ามหลับตาโดยเด็ดขาด
- ลำคอเกร็ง ใช้หน้าผากสัมผัสลูกบอล
- การโหม่งให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการให้ใช้ลำตัวช่วย โดยบิดตั้งเอว อย่าสลัดคอ
- ให้ใช้เข่า ลำตัว ช่วยในการโหม่ง โดยการโยกตัว ลักษณะของลูกบอลจะแรงหรือค่อยอยู่ที่ลักษณะของลูก บอลที่ลอยมาหรือการกระทำต่อลูกบอลนั้น
- การโหม่งจะยืนอยู่หรือกระโดดโหม่งก็ตามให้ดูที่จังหวะการเคลื่อนที่มาของลูกบอล สำคัญต้องใช้หน้าผากเท่านั้น
การโหม่งให้โด่ง
เป็นการโหม่งเพื่อให้ข้ามศีรษะของ คู่ต่อสู้ที่อยู่ขวางหน้า อาจจะยืนอยู่เฉยๆ หรือกระโดดโหม่งก็ตาม เหมาะสำหรับผู้เล่นกองหลังหรือกองกลาง
วิธีการปฏิบัติ
ให้เงยหน้า เกร็งคอ เอนหลังเล็กน้อย ใช้แรงส่งขึ้นมาตั้งแต่เท้าและหัวไหล่ ลืมตา โน้มตัวกระแทกไปข้างหน้า
การโหม่งระดับอก
เป็นการโหม่งเพื่อส่งให้เพื่อน ในการเล่นความแรงหรือน้ำหนัก อยู่ที่จังหวะและระยะทางความใกล้หรือไกล
วิธีการปฏิบัติ
ให้กดคางลงมาเล็กน้อย โน้มตัวไปข้างหน้า ไม่ต้องกระแทกมากนัก เมื่อโหม่งแล้วจึงเปิดคางเล็กน้อย
การโหม่งลงพื้น
เป็นการโหม่งเพื่อยิงประตูหรือเปลี่ยนทิศทาง ลูกโหม่งลงพื้นนี้กองหน้ามักจะใช้ในการยิงประตู
วิธีการปฏิบัติ
หดตัว ถอยหลัง และให้คางกดชิดอกของตัวเองเหมือนก้มศีรษะลง คล้ายคำนับ และเพิ่มแรกกระแทก หรือพุ่งใส่ตัวก็ได้ เพื่อให้ลูกนั้นพุ่งได้แรงและเร็วขึ้น

4 ความคิดเห็น: