วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

การฝึกทักษะการโหม่งลูกบอล

การฝึกทักษะการโหม่งลูกบอล
การโหม่งลูกบอล คือ การใช้บริเวณหน้าผากเป็นส่วนที่สัมผัส ลูกบอล เพราะเป็นจุดที่สามารถรับแรงปะทะได้ดี
การโหม่งมี 3 ประเภท
- การโหม่งให้โด่ง
- การโหม่งระดับอก
- การโหม่งลงพื้น
วิธีการโหม่ง
- ตาต้องมองดูลูกบอลอยู่ตลอดเวลา ห้ามหลับตาโดยเด็ดขาด
- ลำคอเกร็ง ใช้หน้าผากสัมผัสลูกบอล
- การโหม่งให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการให้ใช้ลำตัวช่วย โดยบิดตั้งเอว อย่าสลัดคอ
- ให้ใช้เข่า ลำตัว ช่วยในการโหม่ง โดยการโยกตัว ลักษณะของลูกบอลจะแรงหรือค่อยอยู่ที่ลักษณะของลูก บอลที่ลอยมาหรือการกระทำต่อลูกบอลนั้น
- การโหม่งจะยืนอยู่หรือกระโดดโหม่งก็ตามให้ดูที่จังหวะการเคลื่อนที่มาของลูกบอล สำคัญต้องใช้หน้าผากเท่านั้น
การโหม่งให้โด่ง
เป็นการโหม่งเพื่อให้ข้ามศีรษะของ คู่ต่อสู้ที่อยู่ขวางหน้า อาจจะยืนอยู่เฉยๆ หรือกระโดดโหม่งก็ตาม เหมาะสำหรับผู้เล่นกองหลังหรือกองกลาง
วิธีการปฏิบัติ
ให้เงยหน้า เกร็งคอ เอนหลังเล็กน้อย ใช้แรงส่งขึ้นมาตั้งแต่เท้าและหัวไหล่ ลืมตา โน้มตัวกระแทกไปข้างหน้า
การโหม่งระดับอก
เป็นการโหม่งเพื่อส่งให้เพื่อน ในการเล่นความแรงหรือน้ำหนัก อยู่ที่จังหวะและระยะทางความใกล้หรือไกล
วิธีการปฏิบัติ
ให้กดคางลงมาเล็กน้อย โน้มตัวไปข้างหน้า ไม่ต้องกระแทกมากนัก เมื่อโหม่งแล้วจึงเปิดคางเล็กน้อย
การโหม่งลงพื้น
เป็นการโหม่งเพื่อยิงประตูหรือเปลี่ยนทิศทาง ลูกโหม่งลงพื้นนี้กองหน้ามักจะใช้ในการยิงประตู
วิธีการปฏิบัติ
หดตัว ถอยหลัง และให้คางกดชิดอกของตัวเองเหมือนก้มศีรษะลง คล้ายคำนับ และเพิ่มแรกกระแทก หรือพุ่งใส่ตัวก็ได้ เพื่อให้ลูกนั้นพุ่งได้แรงและเร็วขึ้น
การหยุดลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านนอก
การหยุดบอลด้วยข้างเท้าด้านนอก คือ การหยุดลูกโดยใช้หลังเท้าข้างนอกตรงด้านนิ้วก้อยหรือรับลูกที่มาทางด้านข้าง เช่นทางขวาและจะเล่นต่อไปทางขวา โดยไม่ต้องเสียเวลาหมุนตัวหาทิศทาง แต่โอกาสที่เล่นพลาดมีได้ง่าย ควบคุมลูกไว้ยากเพราะลูกมักจะกระดอนไปไกล
วิธีการหยุดลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านนอก มีดังนี้
1. หันหน้าเข้าหาลูกบอล สายตามองดูลูกบอลตลอดเวลา ต้องทรงตัวให้ดีโดยการกางแขนออก ย่อตัวลงเล็กน้อย
2. ใช้ข้างเท้าที่ไม่ใช้หยุดลูกบอลเป็นเท้าหลักและรับน้ำหนักแล้ว ให้ ลูกบอลตกทางด้านตรงข้างกับเท้าที่จะใช้หยุด
3. ยกเท้าข้างที่จะใช้หยุดไปรับลูกที่กลิ้งมากับพื้นหรือกระดอนขึ้นจากพื้น โดยใช้ข้างเท้าด้านนอกประคองลูกลงสู่พื้นเบา ๆ เมื่อ ลูกบอลกระทบเท้าให้ผ่อนความแรงเล็กน้อย

การเลี้ยงลูกบอลไปข้างหน้า

การเลี้ยงลูกบอลเป็นการครอบครองลูกบอลให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าหรือกลับหลัง โดยใช้เท้า หรือ เพื่อทำการหลบหลีกคู่ต่อสู้

ขั้นตอนของการฝึกทักษะ..การเลี้ยงลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านใน


วิธีการฝึกปฏิบัติ

การเลี้ยงลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านใน มีวิธีปฏิบัติดังนี้        
         1.ให้ใช้สายตาชำเลืองดูที่ลูกบอล
         2.ใช้ข้างเท้าด้านใน (ลูกแป) สัมผัสลูกบอลเบาๆ
         3.การพาลูกบอลให้เคลื่อนที่ไปนั้นต้องสัมผัสเบาๆ  ไม่ใช่การเตะและลูกบอลต้องห่างตัวไม่เกิน 1 ก้าว
         4.ให้ใช้ข้างเท้าด้านในทั้ง 2 ข้างสัมผัสสลับกันไป
         5.ในขณะที่เลี้ยงลูกบอล  ต้องไม่เกร็งตัวหรือส่วนต่างๆ  โดยเฉพาะเอวต้องอ่อน

การเลี้ยงลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านนอก 


วิธีการฝึกปฏิบัติ
การเลี้ยงลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านนอก มีวิธีปฏิบัติดังนี้       
        1.ตามองไปยังทิศทางที่พาลูกไป  หรือชำเลืองดูลูกบอลเป็นครั้งคราว
        2.ใช้เท้าด้านนอกทั้งเท้าซ้ายและเท้าขวาหรืออาจจะใช้ข้างเท้า ด้านในและด้านนอกช่วยในบ้างโอกาส
        3.เขี่ยลูกบอลไปข้างหน้าเบา ๆ แล้วจึงตามลูกไป  ให้น้ำหนักตัวโน้มไปข้างหน้า  เข่าอยู่เหนือลูก  ปลายเท้าบิดเข้าข้างในเล็กน้อย  ในขณะที่เขี่ยลูกควรวิ่งด้วยปลายเท้าเพื่อสะดวกต่อการเขี่ยลูก

แหล่งข้อมูลที่มา...เอกสารประกอบการเรียนพลศึกษา กีฬาฟุตบอล  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

กรเตะลุกให้โด่ง

การเตะลูกโด่ง
1.วางเท้าหลักอยู่หลังลูกบอล  เท้าห่างจากลูกบอลประมาณ 1 ฝ่ามือ(10เซนติเมตร)
2.ขณะเตะลูกบอลให้ลูกสัมผัสเท้าบริเวณข้อเท้าด้านใน(ตาตุ่ม)หรือต่ำกว่าเล็กน้อย
3.ขณะเตะลูกบอลให้เกร็งข้อเท้า  เข่า  โดยยกสูงจากพื้นเล็กน้อย 5-10 เซนติเมตร
4.สัมผัสลูกบอลส่วนล่างหรือใต้ลูกบอล  ขณะที่ลูกบอลกลิ้งเข้ามา หรือวางอยู่บนพื้น  บริเวณปลาย
เท้าหลักวางอยู่ในแนวลูกบอล
5.เหวี่ยงเท้าโดยใช้แรงเหวี่ยงจากสะโพกไปทั้งขา คล้ายลูกตุ้มนาฬิกาออกแรงเตะลูกบอลจากกล้าม
เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับข้อต่อต่าง ๆ จากการเตะลูกบอล
6.หลังจากเตะลูกบอลไปแล้ว  ปลายเท้าตามลูกบอลไปโดยไม่ต้องเกร็ง
แหล่งที่มา www.E-learning.com

การเตะลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านใน

การเตะลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านใน
          การเตะลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านใน หรือการเตะลูกแป  คือ  เท้าที่เตะลูกบอลจะเหยียดและแบะออก
เป็นการใช้เท้าส่วนที่กว้างที่สุดในการเตะหรือสัมผัสลูกบอล  ซึ่งจะทำให้การเตะลูกบอลมีความแม่นยำ เร็ว แรง และมีประสิทธิภาพ  ในการแข่งขันฟุตวอลแต่ละครั้ง  ลูกบอลจะมีการเคลื่อนที่ประมาณ 60-80%  และจะมาจากการหยุดหรือเตะด้วยข้างเท้าด้านใน  การที่จะทำให้เกิดความชำนาญและมีประสิทธิภาพสูงสุด
จึงต้องมีการฝีกหัดอย่างสม่ำเสมอ
วิธีการฝึกหัด
          การฝึกการเตะลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านในควรปฏิบัติดังนี้
      1. ยืนในท่าเตรียมพร้อม  โดย
          1.1ยืนในท่าเท้าหลักหรือเท้าหน้า ชี้ปลายเท้าไปข้างหน้า         
          1.2ย่อเข่าเท้าหลักเล็กน้อย  น้ำหนักอยู่ที่ปลายเท้า
          1.3เท้าที่จะเตะหรือสัมผัสลูกบอล  แบะเข่าไปด้านข้าง  ปลายเท้าเฉียงประมาณ 90 องศา
             เกร็งข้อเท้าและเข่า
          1.4ก้มลำตัวเล็กน้อย  ยกแขนขึ้นเพื่อการทรงตัวให้สมดุล
          1.5สายตามองไปด้านหน้า ทิศทางที่ต้องการให้ลูกบอลเคลื่อนที่